วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ช่วงแนะนำ

วัดวังวิเวกการามณ์

อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกระเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญและจัดเตรียมสำรับอาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด



เขาช่องขาด

อยู่บนเส้นทางระหว่างไทยโยคน้อยกับไทรโยคใหญ่ เป็นรางรถไฟสมัยสังคามโลกครั้งที่สอง ที่ทหารญี่ปุ่นบังคับให้เชลยศึกสร้างขึ้น บริเวณนี้เป็นช่วงที่ยากที่สุดของการสร้างทาง เนื่องจากเป็นการขุดภูเขาให้เป็นช่อง โดยใช้แรงเชลย








เขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือเขื่อนเขาแหลม Wachiralongkorn Dam

เป็นเขื่อนหินทิ้ง ดาดหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 92 เมตร ความยาวสันเขื่อน 1,019 เมตร กั้นลำน้ำแควน้อย เขตตำบลท่าขนุน อยู่เหนืออำเภอทองผาภูมิ ประมาณ 6 กม. ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรีตามเส้นทางหมายเลข 323 ไปทางเหนือประมาณ 147 กม. เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต มีบ้านพักบริการ ติดต่อโทร. 4363179 และ 4244794 หากเดินทาง เลยทางแยกเข้าเขื่อนไป 3-4 กม. จะถึงแพเขื่อนเขาแหลม ซึ่งเป็นที่ตั้งของแพและร้านอาหารหลายแห่ง ตกแต่งร้านเข้ากับทะเลสาปตามธรรมชาติอย่างสวยงาม

เขื่อนวชิราลงกรณ" มีความสูงจากฐาน 92 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ยาว 1,019 เมตร ระดับสันเขื่อนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ( รทก. ) + 161.75 เมตร ปริมาตรตัวเขื่อนประมาณ 8.1 ล้านลูกบาศก์เมตร

" เขื่อนวชิราลงกรณ" นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อ
" เขื่อนวชิราลงกรณ" แทนชื่อ " เขื่อนเขาแหลม" เขื่อนวชิราลงกรณแห่งนี้นับเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ลำดับ 4 ของประเทศไทย รองจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนสิริกิติ์

" เขื่อนวชิราลงกรณ " มีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน อาทิ บ้านพัก ห้องพัก ห้องสัมมนา ร้านอาหาร ร้านค้าสหกรณ์ สนามกอล์ฟ สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ สวนสุขภาพ สวนรวมฤทัย และยังมีเรือโดยสาร สำหรับชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำ

นักท่องเที่ยวสามารถขับรถชมตลอดถึงสันเขื่อน ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม





วัดมังกรทอง

อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร บนฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งอยู่เชิงเขา วัดนี้สร้างขึ้นในปี 2447 เหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำมังกรทองก็เนื่องจากมีถ้ำขนาดเล็กอยู่บนยอดเขา โดยราวบันไดขึ้นสู่ถ้ำสร้างเป็นรูปมังกรสองตัวขนาดใหญ่ขนานกันไปจนสุดทางที่ปากถ้ำ มีบันไดทั้งหมด 95 ขั้น ที่ตรงปากถ้ำมีหินใหญ่ทำเป็นหน้าสิงโตดูน่าเกรงขาม วัดถ้ำมังกรทองยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายเกี่ยวกับการทำสมาธิลอยตัวในน้ำ ที่เยกกันว่า "แม่ชีลอยน้ำ" โดยเสียค่าเข้าชม(ทำบุญ) 10 บาทต่อคน มีผู้สนใจมาชมการแสดงลอยตัวในน้ำเป็นประจำ

การเดินทาง จากถนนแสงชูโตใช้เส้นทางที่แยกซ้ายจากหน้าศาลากลางจังหวัดไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองไปยังวัดถ้ำมังกรทอง



สุสานกาญจนบุรี (ดอนรัก)
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (Kanchanaburi War Cemetery) เนื่องจากการเกณฑ์ทหารสัมพันธมิตรมาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ ผ่านกาญจนบุรีไปเมียนมาร์ของกองทัพญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเหตุให้เชลยศึกพันธมิตรเสียชีวิตที่กาญจนบุรีเป็นจำนวนมาก สุสานแห่งนี้บรรจุกระดูกของทหารสัมพันธมิตร จำนวน 6,982 หลุม สุสานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟกาญจนบุรี ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร ในเขตบ้านดอนรัก ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภายในมีการตกแต่งสวยงาม ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมจำนวนมากเพราะเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกาญจนบุรีเพียง 300 เมตร เท่านั้น

อยู่ที่บริเวณหลังสถานีรถไฟ กาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองออกไปทางเหนือประมาณ 1 กม. เป็นสุสานที่มีเนื้อที่กว้างขวางสวยงามและเงียบ สงบ บรรจุศพทหารเชลยศึกถึง 6,982 หลุม




ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (สายมรณะ)
ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่เคยเป็นที่พักของเชลยศึกเมื่อครั้งสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปพม่า ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี–น้ำตก วึ่งเป็นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันสิ้นสุดที่สถานีรถไฟน้ำตก ภายในถ้ำโปร่งและมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 55 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 กิโลเมตรที่ 29–30

ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านเข้ากาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ไปทางทิศตะวันตก ผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์จนถึงปลายทางที่เมืองตันบีอุซายัต ประเทศพม่า เส้นทางสายนี้เป็นน้ำ พักน้ำแรงการบุกเบิกของทหารเชลยศึกพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์สร้างเพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่าน ประเทศพม่า ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก ปัจจุบันเส้นทางสายนี้ไปสุดที่บ้านท่าเสา หรือสถานีน้ำตก ระยะ ทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กม. การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเดินรถ บนเส้นทางสายนี้ทุกวัน และจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 2237010, 2237020





สะพานข้ามแม่น้ำแคว

เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึก พันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย และฮอลันดา จำนวนมากมาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่าน ประเทศพม่า ซึ่งมีส่วนหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนขาดอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง สะพานข้ามแม่น้ำแควตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม ห่างจากตัวเมืองไปทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 323 ประมาณ 4 กม. แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายเขียนบอกไว้ชัดเจน